เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง ห่วงความขัดแย้งไทย-กัมพูชา กระทบผู้ผลัดถิ่น-แรงงานข้ามชาติ
Mon, 2011-02-21 22:16
แนะอภิสิทธิ์ – ฮุน เซน ยุติการปะทะกันพร้อมใช้มาตรการสันติทุกรูปแบบแก้ปัญหาความขัดแย้ง ร่วมสร้างความมั่นใจต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้พลัดถิ่นบริเวณพรมแดน พร้อมให้ดูแลแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาในไทย
เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรภาคประชาสังคมจากประเทศพม่า, กัมพูชา, ลาว , ไทย, เวียดนาม และ ยูนนาน ประเทศจีน ได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงกังวลต่อ ความขัดแย้งบริเวณพรมแดนไทย – กัมพูชา โดยแถลงการณ์ดังกล่าวระบุเนื้อหาดังนี้
แถลงการณ์ของเครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง
Mekong Migration Network
แสดงความห่วงกังวลต่อความขัดแย้งบริเวณพรมแดนไทย – กัมพูชา
เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) เป็นเครือข่ายขององค์กรภาคประชาสังคมจากประเทศพม่า, กัมพูชา, ลาว , ไทย, เวียดนาม และ ยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งได้ทำงานร่วมกันมากว่า 10 ปีใน การเสริมสร้างสิทธิของแรงงานข้ามชาติในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยการทำงาน วิจัย, รณรงค์และเสริมสร้างความศักยภาพร่วมกัน เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่ม น้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) มีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิก 37 องค์กร ซึ่งมี 8 องค์กรจากประเทศ กัมพูชา และ 18 องค์กรจากประเทศไทย
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำโขง พวก เราได้ทุ่มเทในการเสริมสร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประโยชน์จากการแบ่ง ปันความรู้และปัญญา พวกเราตระหนักว่าหลายปีที่ผ่านมาการสื่อสารระหว่างภาค ประชาสังคมในลุ่มน้ำโขงมีความยากลำบากมากด้วยเพราะความขัดแย้งที่กระจายอยู่ ทั่วภูมิภาค พวกเราได้แบ่งปันความรู้สึกเสียใจที่ภูมิภาคของเราต้องประสบ ความทุกข์ พวกเราเชื่อและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภูมิภาคของพวกเราจะสามารถก้าว ไปข้างหน้า ก้าวไปไกลจากความขัดแย้งและความเสียใจ แต่สถานการณ์ในวันนี้ ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชานั้นกลับเป็นการถอยหลังมากกว่าที่จะก้าวไป ข้างหน้า
การใช้กำลังบนความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ทำให้มีชาว บ้านเสียชีวิต 9 คน และชาวบ้านที่ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นอีกกว่า 25,000 คน เครือข่ายผู้ย้าย ถิ่นในลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) มีความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อผู้พลัดถิ่นกว่าพันคนทั้งชาวไทยและชาว กัมพูชา ผู้ที่ต้องเผชิญความยุ่งยากในชีวิตอย่างรุนแรงจากการปะทะกันระหว่าง กองกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย และผู้ที่ความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิตยังคง เป็นความเสี่ยงที่สำคัญอย่างยิ่ง
• พวก เรายังปรารถนาที่จะแสดงถึงความห่วงกังวลของพวกเรา ต่อการกระทำและคำพูดของรัฐบาลของพวกเราที่เปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ต้องการยุยง ให้เกิดความเกลียดชังระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ อันตรายและน่าเศร้าเสียใจอย่างยิ่ง และพวกเราเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าแรงงาน ข้ามชาติจากประเทศกัมพูชาที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยอาจจะได้รับผล กระทบที่รุนแรงจากการลุกลามของความรู้สึกเกลียดชังชาวต่างชาติซึ่งได้รับการ กระตุ้นจากการกระทำของผู้นำรัฐบาล
ดังนั้น พวกเราจึงต้องการร้องขอต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ว่า
• ควรยุติการปะทะกันของกองกำลังทหารอย่างทันทีและการใช้มาตรการแบบสันติทุกรูปแบบเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
• ควรสร้างความมั่นใจต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้พลัดถิ่นทุกคนที่อยู่บริเวณพรมแดน
• ควร แสดงความรับผิดชอบต่อแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาในประเทศไทย: สำหรับรัฐบาลไทย เพื่อที่จะให้มั่นใจว่าพวกเขาจะไม่เป็นเหยื่อของอาชญากรรมด้วยเกลียด ชัง, พวกเขาจะไม่ถูกส่งกลับประเทศเพียงแค่พวกเขาเป็นชาวกัมพูชา และพวกเขาสามารถใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีความมั่นคง สำหรับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงการ บริการของสถานทูตได้ตามความต้องการ
พวกเราในฐานะภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำโขงปรารถนาที่จะแบ่งปันวันพรุ่งนี้ของ พวกเราอย่างสันติและอย่างน่าปิติยินดี และเพื่อให้เป็นเช่นนั้น พวกเราเชื่อว่าพวกเราจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะแบ่งปันจากเมื่อวานของพวกเรา