แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรในประเทศไทย (2563)

ภาคเกษตรของประเทศไทยพึ่งพิงแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region –GMS) มาเป็นระยะเวลานาน การพึ่งพิงดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้สอดคล้องกับบริบทความเปลี่ยนแปลงในชนบทของไทยที่ประชากรย้ายไปทำงานในเขตเมือง ถึงแม้จะมีจำนวนแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในภาคเกษตรของประเทศไทยเพิ่มขึ้น แต่กลับน่าประหลาดใจที่งานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ยังคงมีอย่างจำกัด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นต่อเงื่อนไขและความจำเป็นต่างๆ ของแรงงานกลุ่มที่มักจะถูกละเลยนี้ เพราะพวกเขาเสี่ยงที่จะได้รับการปกป้องอย่างไม่เพียงพอจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ การละเมิด และรูปแบบการละเมิดสิทธิอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในภาคการทำงานนี้

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network – MMN) เป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับอนุภูมิภาค ได้ดำเนินโครงการวิจัยแบบความร่วมมือในปี พ.ศ. 2560 – 2562 มุ่งศึกษาสภาพความเป็นอยู่และการทำงานของแรงงานข้ามชาติภาคเกษตรจากประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์ โดยเจาะจงไปที่ประสบการณ์ของแรงงานข้ามชาติในภาคเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยเน้นศึกษาประสบการณ์ของแรงงานข้ามชาติ และการวิเคราะห์ช่องว่างในกลไกการคุ้มครองสิทธิที่มีอยู่

คลิกที่นี่ เพื่อดาวโหลดรายงานวิจัยฉบับเต็ม