ฟื้นฟูชีวิตในความไม่แน่นอน: แรงงานข้ามชาติลุ่มน้ำโขงท่ามกลางวิกฤตโควิด 19

นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคโควิด – 19 สถานการณ์ของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยยิ่งไม่มั่นคงเพิ่มมากขึ้น การระบาดทั่วโลกส่งผลกระทบให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และจำเป็นต้องปิดพรมแดน แรงงานข้ามชาติที่ทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แรงงานข้ามชาติที่ทำงานในภาคส่วนอื่นๆ ถูกปรับลดค่าจ้างและชั่วโมงการทำงาน และกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อยาวนาน

ขณะที่ผลกระทบของโรคโควิด – 19 เกิดขึ้นทั่วโลก ความแตกต่างและความท้าทายที่เผชิญโดยแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยยังคงไม่เป็นเรื่องที่คุ้นเคยของสังคมส่วนใหญ่มากนัก เพื่อขยายเสียงและเรื่องราวของแรงงานข้ามชาติและสร้างความตระหนักแก่สังคม เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network – MMN) ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับอนุภูมิภาคของภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จึงได้ริเริ่มโครงการภาพเล่าเรื่องขึ้น โดยคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นช่องทางให้ผู้ย้ายถิ่นได้มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาในภาษาของพวกเขาเอง และนำเสนอความท้าทายและการดิ้นรนเอาตัวรอดของพวกเขาให้เป็นที่สนใจของสังคม อีกทั้ง MMN หวังว่าโครงการภาพเล่าเรื่องจะเป็นสื่อในการแสดงให้เห็นว่าภูมิทัศน์กฎหมายและนโยบายที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการย้ายถิ่นและการคุ้มครองทางสังคมส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ย้ายถิ่นอย่างไร โดยเน้นทั้งปัญหาที่มีอยู่และแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้

หนังบุ๊คเลทฉบับนี้นำเสนอเรื่องราวที่บอกเล่าโดยแรงงานข้ามชาติพร้อมภาพประกอบ เรื่องราวจะถูกนําเสนอพร้อมชุดภาพถ่าย ถ่ายโดยช่างภาพสารคดี คุณ John Hulme โดยภาพถ่ายทั้งหมดที่ถ่ายโดยคุณ John Hulme ถูกจัดแสดงที่นิทรรศการภาพถ่ายร่วมกับ องค์กร SEA Junction ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 และนิทรรศการอื่นๆที่วางแผนไว้ ในปี พ.ศ. 2564

 

ดาวน์โหลดบุ๊คฉบับเต็ม (Link)