เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเปิดตัวรายงานวิจัย “แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรในประเทศไทย” (PRESS RELEASE: MMN Launches the Report “Migrant Agricultural Workers in Thailand” [in Thai]))

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเปิดตัวรายงานวิจัย “แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรในประเทศไทย”

3 กุมภาพันธ์ 2563

 

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเปิดตัวรายงานวิจัย “แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรในประเทศไทย”

 

วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 แรงงานข้ามชาติเผยว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานภาคเกษตรในประเทศไทย

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network – MMN) ในฐานะเป็นเครือข่ายระดับอนุภูมิภาคที่ทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติและครอบครัวผ่านการรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์ เปิดตัวรายงานวิจัย เรื่อง “แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรในประเทศไทย”  วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย รายงานวิจัยฉบับดังกล่าวนำเสนอข้อค้นพบจากการวิจัยร่วมกันระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2562 ซึ่งเผยให้เห็นสภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าและกัมพูชาในภาคเกษตรของประเทศไทย โดยเจาะจงไปที่ประสบการณ์ของแรงงานในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา การวิจัยนี้ได้เน้นศึกษาประสบการณ์ของแรงงานฯและการวิเคราะห์ช่องว่างในกลไกการคุ้มครองสิทธิที่มีอยู่ ในการเปิดตัวรายงานวิจัยครั้งนี้มีสนใจผู้เข้าร่วมงานและพูดคุยประเด็นแรงงานข้ามชาติภาคเกษตรมากกว่า 40 คน จากหลากหลายภาคส่วนประกอบด้วยแรงงานข้ามชาติ  เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรภาคประชาสังคม องค์การระหว่างรัฐบาล นักวิชาการและสื่อมวลชน

ข้อค้นพบทางการวิจัยของเครือข่ายฯเผยให้เห็นถึงความท้าทายที่แรงงานข้ามชาติประสบเมื่อเข้ามาทำงานภาคเกษตรในประเทศไทย อาทิ ความยุ่งยากในขั้นตอนการขอสถานะเข้าเมืองที่ถูกกฎมาย พบว่าแรงงานข้ามชาติภาคการเกษตรยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆอีก ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการ-จดทะเบียนมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของแรงงานข้ามชาติภาคการเกษตรที่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ และมากกว่าครึ่งของแรงงานข้ามชาติภาคการเกษตรที่ได้รับการสำรวจในงานวิจัยไม่ได้จดทะเบียน ข้อค้นพบทางการวิจัยยังนำเสนอประเด็นชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานกว่าเวลาทำงานปกติ โดยเฉพาะแรงงานที่ทำงานในสวนยางพารามีชั่วโมงการทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน แรงงานข้ามชาติจำนวนมาก (64 %) ได้รับค่าจ้างในอัตราที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ คือ 9,000 บาทต่อเดือน แรงงานข้ามชาติบางกลุ่มถูกยึดเอกสารส่วนตัวโดยนายจ้าง อีกทั้งสภาพที่อยู่อาศัยและอาชี-วอนามัยและความปลอดภัยในอาชีพก็ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

นายวิน ซอ อู แรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 17 ปี ในไร่ข้าวโพด สัปปะรดและอ้อยในประเทศไทย กล่าวว่า “แรงงานข้ามชาติในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้ค่าแรงโดยเฉลี่ยต่อวันต่ำมาก ประมาณ 150 บาทต่อวัน และถ้าหากขับรถได้จะได้ค่าแรงประมาณ 200 บาทต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและต่ำกว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงอยากขอร้องให้รัฐบาลช่วยต่อรองกับนายจ้างเพื่อให้แรงงานข้ามชาติได้รับค่าแรงที่สูงขึ้น”

นายสุทธิศักดิ์ รุ่งเรืองผาสุก ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) สาขาแม่สอด จังหวัดตาก อธิบายเพิ่มเติมถึงปัญหาที่แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรประสบพบเจอว่า “แรงงานข้ามชาติส่วนมากคิดว่าเมื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้วจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ว่าแรงงานข้ามชาติบางส่วนไม่สามารถส่งลูกหลานเข้าโรงเรียนได้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสถานะการเข้าเมืองทางกฎหมาย อีกทั้ง แรงงานข้ามชาติทำงานในพื้นที่ห่างไกลจากบริการของภาครัฐและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และสภาพที่อยู่อาศัยก็ไม่มีความปลอดภัย” นอกจากนี้ นางสาวไว เพียว จากมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (FED Foundation) สาขาพังงา กล่าวเสริมถึงความกังวลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational Health and Safety – OHS) “แรงงานข้ามชาติส่วนมากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพราะนายจ้างไม่มีการจัดเตรียมให้ ทำให้แรงงานข้ามชาติต้องซื้ออุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยตัวเอง ปัญหาที่พบเจอได้บ่อยอีกอย่างคือ แรงงานข้ามชาติหญิงได้รับค่าแรงต่ำกว่าแรงงานชาติชายแม้ว่าจะทำงานประเภทเดียวกัน”

นางพัฒนา พันธุฟัก ผู้ช่วยปลัดประทรวงแรงงาน ผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน ตอบสนองต่อข้อกังวลข้างต้นว่า “รัฐบาลไทยมีความพยายามเสมอมาที่จะปรับปรุงสภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติภาคเกษตรในประเทศไทยแต่ก็อาจจะมีช่องโหว่บางอย่างในการกำหนดนโยบายและกระบวนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง มกราคม พ.ศ. 2563 ทางกระทรวงแรงงานทำการตรวจแรงงานทั้งหมด 451 สถานประกอบการ ซึ่งครอบคลุมจำนวนแรงงานทั้งหมด 4,567 คน ในจำนวนนี้มีจำนวน 8 สถานประกอบการ ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม” อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจากการตรวจแรงงานในสถานไม่ได้มีการแยกประเภทแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย

งานเปิดตัวรายงานวิจัยนี้เน้นย้ำถึงความต้องการที่จะให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติภาคเกษตร ซึ่งแรงงานเหล่านี้มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย เครือข่ายฯสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิของแรงงานภาคเกษตรทุกคนรวมทั้งแรงงานข้ามชาติ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

รายงานวิจัย “แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรในประเทศไทย” ฉบับภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลดได้ที่ https://mekongmigration.org/wp-content/uploads/2020/01/book_Migrant-in-Agriculture-Eng-1.pdf

เกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network – MMN)

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  (Mekong Migration Network – MMN) เป็นองค์กรภาคประชาสังคมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 สมาชิกในเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงปฏิบัติหน้าที่ทั้งในประเทศต้นทางของแรงงานข้ามชาติและประเทศปลายที่แรงงานข้ามชาติเดินทางเข้ามาทำงาน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำงานกับแรงงานข้ามชาติในระดับการทำงานภาคสนาม และทางเครือข่ายมีการจัดการหารือกับผู้มีส่วนได้เสียภาครัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

กรุณาเยี่ยมชมหน้าเว็บของเรา www.mekongmigration.org

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

Ms. Reiko Harima ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  อีเมลล์ reiko@mekongmigration.org (English or Japanese) or whatsapp +852 93692244

Ms. Yanin Wongmai (นางสาวญาณิน วงค์ใหม่) ผู้ประสานงานโครงการเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อีเมลล์  yanin@mekongmigration.org เบอร์โทร (+66) 860918186